เผยแพร่แล้ว: ธ.ค. 15, 2016
 
   
 
  คำสำคัญ:
  การบริหารความเสี่ยง
  การมีส่วนร่วม
  บุคลากร โรงพยาบาลสงฆ์
 
   
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

 
   
 
 
 
    Language
 
      English  
      ภาษาไทย  
 
 
    Information
 
      สำหรับผู้อ่าน  
      สำหรับผู้แต่ง  
      สำหรับบรรณารักษ์  
 
 
    Home ThaiJo
 
   
 
 
 
    Manual
 
      For Author  
      For Reviewer  
 
 
    เว็บไซต์
 
      โรงพยาบาล
    เจริญกรุงประชารักษ
 
      www.ckphosp.go.th  
 
 

 

 
     
 
 
     
     
 

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ กับการมีส่วนร่วมในการบริหารความเสี่ยง ของบุคลากร โรงพยาบาลสงฆ์

 
     
     
 
สมฤทัย สายจันทร์
นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต วิชาเอกบริหารโรงพยาบาล สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
รศ.ดร.นิตยา เพ็ญศิรินภา
รองศาสตราจารย์ ประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
รศ.พรทิพย์ กีระพงษ์
รองศาสตราจารย์ ประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช


บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วัดระดับการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการพัฒนาคุณภาพด้านบริหารความเสี่ยงของโรงพยาบาลสงฆ์  2) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและการเสริมสร้างพลังอำนาจในบุคลากร  3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การเสริมสร้างพลังอำนาจกับการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการพัฒนาคุณภาพด้านบริหารความเสี่ยง  และ 4) ศึกษาปัญหา อุปสรรค  และข้อเสนอแนะเพื่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพด้านบริหารความเสี่ยงของโรงพยาบาล


วิธีดำเนินการวิจัย:  ประชากรที่ศึกษาเป็นบุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยง ได้แก่ แพทย์  พยาบาล  และสหวิชาชีพ จำนวน 261 คน  กลุ่มตัวอย่างจำนวน 140 คนได้จากการสุ่มแบบชั้นภูมิตามวิชาชีพ  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม ที่มีค่าความเที่ยงอยู่ระหว่าง 0.928- 0.944 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา  การทดสอบไคสแควและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน


ผลการศึกษา พบว่า  1) การมีส่วนร่วมของบุคลากรในการบริหารความเสี่ยงอยู่ในระดับสูง 2) บุคลากรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 32.5 ปี ระยะเวลาการทำงานเฉลี่ย 10.05 ปี ลักษณะส่วนบุคคลที่พบมากที่สุด คือ มีการศึกษาระดับปริญญาตรี  ไม่ได้เป็นคณะกรรมการด้านความเสี่ยง  เคยอบรมด้านความเสี่ยง  1 ครั้ง ในรอบปีที่ผ่านมา เคยทำงานด้านความเสี่ยงเฉลี่ย 5.01 ปี  ภาพรวมของการเสริมสร้างพลังอำนาจของบุคลากรอยู่ในระดับสูง 3) การเป็นคณะกรรมการหรือเป็นผู้จัดการความเสี่ยง และการเสริมสร้างพลังอำนาจโดยรวมและรายด้าน มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการบริหารความเสี่ยงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัจจัยส่วนบุคคลอื่นๆ ไม่พบความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วม และ 4) ปัญหา อุปสรรคของการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพด้านบริหารความเสี่ยงที่สำคัญ คือ ขาดการประเมินผลอย่างสม่ำเสมอและขาดบุคลากรประสานงาน


สรุป: การมีส่วนร่วมของบุคลากรในการบริหารความเสี่ยงนั้น จำเป็นจะต้องมีบุคลากรที่ทำหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการติดต่อประสานงานเพื่อให้การติดตามประเมินผลเป็นไปอย่างต่อเนื่องซึ่งจะทำให้การบริหารความเสี่ยงมีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น


คำสำคัญ:  การบริหารความเสี่ยง  การมีส่วนร่วม  บุคลากร โรงพยาบาลสงฆ์

 
     
     
     
 
   ฉบับ  

    ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 (2017): มกราคม - มิถุนายน 2560

 
 
     
     
 
   บทความ  
    Original Article  
 
     
     
     
 

References

1. อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล. ระบบบริหารความเสี่ยงในโรงพยาบาล. กรุงเทพฯ: ดีไซน์; 2543. หน้า 2-27.

2. Kanter R.M. Men and women of the corporation. New York: Basic Books; 1977. p 129-205.

3. Wilson J. and Tingel J. Clinical risk modification: A route to clinic governance. Oxford: Butterwort
Heinemann; 1999. p 924-5.

4. พิศสมัย อรทัย และคณะ. การวิเคราะห์อำนาจการทดสอบและการประมาณค่าขนาดตัวอย่างโดย
โปรแกรม G*POWER. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี; 2556. หน้า 100-5.

5. ปวีณา ผลฟักแฟง. ความรู้ ความเข้าใจและการปฏิบัติกิจกรรมเกี่ยวกับกระบวนการบริหารความเสี่ยง
ในโรงพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่งในจังหวัดนนทบุรี. [วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจ
มหาบัณฑิต]. สาขาการจัดการ, บัณฑิตวิทยาลัย, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต; 2554.

6. ณัฐนียา ธรรมสุนทร. แนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการพัฒนาคุณภาพบริการ
ด้านการบริหารความเสี่ยง ความปลอดภัย และคุณภาพของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. [วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาการบริหาร และนโยบายสวัสดิการสังคม,คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2552.

7. จำรูล จันทร์หอม. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การเสริมสร้างพลังอำนาจในงานกับการ
ปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาคุณภาพบริการ ของพยาบาลประจำการ ในโรงพยาบาลชุมชน เขต 13.
[วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาการบริหารโรงพยาบาล, บัณฑิตวิทยาลัย, นนทบุรี:
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2549.

8. อุไรวรรณ เมืองสุวรรณ์. การมีส่วนร่วมของบุคลากรโรงพยาบาลระยองในการพัฒนาคุณภาพ
ระบบบริการเพื่อมุ่งสู่การรับรองคุณภาพโรงพยาบาล. [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต].
สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, บัณฑิตวิทยาลัย, จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี; 2549.

9. สราวุฒิ คณะไชย. การมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพบริการของบุคลากรโรงพยาบาลสิรินธร
จังหวัดขอนแก่น. [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข,
บัณฑิตวิทยาลัย, ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2548.

10. มยุรี ตันติยะวงศ์ษา. การมีส่วนร่วมของบุคลากรในโรงพยาบาลสงฆ์ในกิจกรรม 5 ส. [วิทยานิพนธ์
สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาการบริหาร และนโยบายสวัสดิการสังคม,
คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2546.

11.พัชรี สายสดุดี. ปัจจัยส่วนบุคคล การมีส่วนร่วมในงาน พฤติกรรมการเป็นสมาชิกองค์การกับพฤติกรรม
การปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลรัฐ กรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2546; 15: 54-66.

12.สมยศ นาวีการ. การบริหารแบบมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ; 2545.

13.วิลาสินี ชวลิตดำรง. สมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพระดับปฏิบัติการโรงพยาบาลในสังกัดกรมการแพทย์
ในเขตกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาบริหารสาธารณสุข, บัณฑิตวิทยาลัย, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2552.